Select Page

วท.ม. สาขาวิชาโลจิสติกส์อัจฉริยะและการจัดการโซ่อุปทาน (LSCM)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์อัจฉริยะและการจัดการโซ่อุปทาน

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหาร เพื่อผลิตบุคลากรสำหรับสายงานการจัดการโลจิสติกส์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเข้าใจในธุรกิจมีความสามารถทางการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์เพื่อการจัดการและการวิเคราะห์งานทางโลจิสติกส์ การใช้กรณีศึกษา และการศึกษาหน่วยปฏิบัติงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรได้รับการพัฒนาสำหรับผู้บริหารทุกระดับ นักวิเคราะห์ และบุคลากรในสายงานการจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในอาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ที่ต้องการมุมมองเชิงลึกในการวิเคราะห์และการจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรธุรกิจอย่างบูรณาการ

Expected Learning Outcome

ELO1 Apply ethical, legal, global implications in business decision making
ELO2 Demonstrate understanding in business and organization management
ELO3 Effectively apply quantitative analysis to logistics management
ELO4 Apply research methodology to investigate and solve problems in logistics and supply chain
ELO5 Critically evaluate challenges of managing logistics systems
ELO6 Develop the core leadership values, or function well on multi-disciplinary, and communicate effectively
ELO7 Demonstrate technology and identify software necessary to help making decisions

แนวอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาจะเป็นตำแหน่งงานทางด้านการปฏิบัติการโลจิสติกส์ ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจและปรากฏอยู่ในทุกองค์กรภายใต้ชื่อหน่วยงานที่แตกต่างกันไป นอกเหนือจากตำแหน่งผู้บริหาร นักวิเคราะห์และวางแผนในหน่วยงานโลจิสติกส์/โซ่อุปทาน ในธุรกิจการผลิต ธุรกิจค้าปลีกและกระจายสินค้า รวมถึงธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์และที่ปรึกษาแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษายังมีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งผู้บริหารและนักวิเคราะห์/วางแผนในฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ฝ่ายกระจายสินค้า ฯลฯ อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา

นักศึกษาที่จะได้รับปริญญาทางสาขาการโลจิสติกส์ จะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต โดยเลือกแผนใดแผนหนึ่งดังนี้ แผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์) แผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยเปิดสอนภาคปกติในเวลาราชการ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ แผน ข. ไม่ทำวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาพื้นฐาน 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก (อย่างน้อย) 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาการสัมมนานานาชาติทางการจัดการโลจิสติกส์ 1 หน่วยกิต 1 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ สอบ สอบ
สอบปากเปล่า สอบ
หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต 37 หน่วยกิต

 

 

  • หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ประกอบด้วย
    • สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
    • ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
    • ลจอท 4001 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการจัดการโลจิสติกส์
    • ลจอท 4002 ภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการโลจิสติกส์
  • หมวดวิชาเลือก
    • ลจอท 7101 การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
    • ลจอท 7102 การบริหารความเสี่ยงในโซ่อุปทาน
    • ลจอท 7103 การบริหารโครงการ
    • ลจอท 7104 การวางแผนและการจัดตารางการผลิต
    • ลจอท 7201 การจำลองหรับปัญหาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
    • ลจอท 7202 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่-เวลา
    • ลจอท 7203 การตั้งราคาและการหาค่าเหมาะที่สุดสำหรับรายได้ 
    • ลจอท 7204 การพยากรณ์เชิงธุรกิจ
    • ลจอท 7301 การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูลเบื้องต้น
    • ลจอท 7302 การจัดการข้อมูลใหญ
    • ลจอท 7303 การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรประยุกต์
    • ลจอท 7401 การเจรจาต่อรองและการบริหารจัดการความขัดแย้ง
    • ลจอท 7402 การวิจัยเชิงคุณภาพ
  • หมวดวิชาพื้นฐาน
    • ลจอท 5001 การวิเคราะห์ข้อมูลและตัวแบบการตัดสินใจ
    • ลจอท 5002 การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
    • ลจอท 5003 พื้นฐานทางการจัดการสำหรับบุคลากรในสายงานโลจิสติกส์
    • ลจอท 5004 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์
  • หมวดวิชาหลัก
    • ลจอท 6001 การหาค่าเหมาะที่สุดสำหรับสินค้าคงคลัง
    • ลจอท 6002 โลจิสติกส์อัจฉริยะและคลังสินค้าอัตโนมัติ
    • ลจอท 6003 การหาค่าเหมาะที่สุดสำหรับการขนส่งและเครือข่ายการกระจายสินค้า
    • ลจอท 6004 การหาค่าเหมาะที่สุดของโซ่อุปทาน
  • หมวดวิชาสัมมนาและการศึกษาตามแนวแนะ
    • ลจอท 8001 สัมมนานานาชาติส าหรับโลจิสติกส์อัจฉริยะและการจัดการโซ่อุปทาน
    • ลจอท 8002 การศึกษาตามแนวแนะ
    • ลจอท 8003 การศึกษาตามแนวแนะ
  • หมวดวิชาการศึกษาเฉพาะเรื่อง
    • ลจอท 8801-8803 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
    • ลจอท 8804-8806 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
    • ลจอท 8807-8809 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ
    • ลจอท 9000 การค้นคว้าอิสระ
  • หมวดวิชาวิทยานิพนธ์
    • ลจอท 9004    วิทยานิพนธ์

ดาวน์โหลดเอกสาร

Expected Learning Outcome

ELO1 Apply ethical, legal, global implications in business decision making
ELO2 Demonstrate understanding in business and organization management
ELO3 Effectively apply quantitative analysis to logistics management
ELO4 Apply research methodology to investigate and solve problems in logistics and supply chain
ELO5 Critically evaluate challenges of managing logistics systems
ELO6 Develop the core leadership values, or function well on multi-disciplinary, and communicate effectively
ELO7 Demonstrate technology and identify software necessary to help making decisions

thTH