หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์อัจฉริยะและการจัดการโซ่อุปทาน
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหาร เพื่อผลิตบุคลากรสำหรับสายงานการจัดการโลจิสติกส์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเข้าใจในธุรกิจมีความสามารถทางการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์เพื่อการจัดการและการวิเคราะห์งานทางโลจิสติกส์ การใช้กรณีศึกษา และการศึกษาหน่วยปฏิบัติงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรได้รับการพัฒนาสำหรับผู้บริหารทุกระดับ นักวิเคราะห์ และบุคลากรในสายงานการจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในอาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ที่ต้องการมุมมองเชิงลึกในการวิเคราะห์และการจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรธุรกิจอย่างบูรณาการ
ELO1 | Apply ethical, legal, global implications in business decision making |
ELO2 | Demonstrate understanding in business and organization management |
ELO3 | Effectively apply quantitative analysis to logistics management |
ELO4 | Apply research methodology to investigate and solve problems in logistics and supply chain |
ELO5 | Critically evaluate challenges of managing logistics systems |
ELO6 | Develop the core leadership values, or function well on multi-disciplinary, and communicate effectively |
ELO7 | Demonstrate technology and identify software necessary to help making decisions |
ผู้สำเร็จการศึกษาจะเป็นตำแหน่งงานทางด้านการปฏิบัติการโลจิสติกส์ ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจและปรากฏอยู่ในทุกองค์กรภายใต้ชื่อหน่วยงานที่แตกต่างกันไป นอกเหนือจากตำแหน่งผู้บริหาร นักวิเคราะห์และวางแผนในหน่วยงานโลจิสติกส์/โซ่อุปทาน ในธุรกิจการผลิต ธุรกิจค้าปลีกและกระจายสินค้า รวมถึงธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์และที่ปรึกษาแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษายังมีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งผู้บริหารและนักวิเคราะห์/วางแผนในฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ฝ่ายกระจายสินค้า ฯลฯ อีกด้วย
นักศึกษาที่จะได้รับปริญญาทางสาขาการโลจิสติกส์ จะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต โดยเลือกแผนใดแผนหนึ่งดังนี้ แผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์) แผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยเปิดสอนภาคปกติในเวลาราชการ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)
| แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ | แผน ข. ไม่ทำวิทยานิพนธ์ |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
หมวดวิชาพื้นฐาน | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาหลัก | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก (อย่างน้อย) | -- | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาการสัมมนานานาชาติทางการจัดการโลจิสติกส์ | 1 หน่วยกิต | 1 หน่วยกิต |
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ | -- | 3 หน่วยกิต |
สอบประมวลความรู้ | สอบ | สอบ |
สอบปากเปล่า | -- | สอบ |
หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | -- |
รวมไม่น้อยกว่า | 37 หน่วยกิต | 37 หน่วยกิต |
เป็นหน่วยงานชั้นนำของประเทศซึ่งมีคุณภาพระดับสากลที่ผลิตองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรทางด้านสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (NIDA-GSAS)