Select Page

วท.ม. สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITM)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี โดยการผสมผสานแนวคิดด้านการจัดการธุรกิจองค์กร เพื่อผลิตมหาบัณฑิตในสายงานการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำที่มีพร้อมทั้งความรู้ คุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรให้ทันกับเทคโนโลยี และการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล  เพิ่มพูนศักยภาพให้แก่ผู้เรียน สนับสนุนการได้ใบรับรองความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากลในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลเทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ การมีทักษะความรู้ในการสร้างงานวิจัยทางด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ  มีทัศนคติ แรงจูงใจที่จะใฝ่รู้ ในลักษณะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะเฉพาะทางของนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่บูรณาการความรู้ความสามารถในการบริหารการพัฒนาเข้ากับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย รวมทั้งมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม

แนวอาชีพ

ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับ ผู้กำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ประกอบการอิสระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ นักปรับปรุงกระบวนการทำงาน นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานธุรกิจ ฯลฯ

แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ แผน ข. ไม่ทำวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 18 หน่วยกิต 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก (อย่างน้อย) 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ สอบ สอบ
สอบปากเปล่า สอบ
หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต 39 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

    • สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
    • ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    • ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
    • บทส 4003 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจและการนำเสนอทางธุรกิจ
    • บทส 4010 ระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจ

    หมวดวิชาพื้นฐาน

    • บทส 5010 เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร และเทคโนโลยีเกิดใหม่: อีอาร์พี คลาวด์ ไอโอที บล็อกเชน และฟินเทค
    • บทส 5020 การเรียนรู้ของเครื่องและวิธีเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ธุรกิจ

    หมวดวิชาหลัก

    วิชาหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    • บทส 6010 การจัดการข้อมูลระดับองค์กร: การอภิบาลข้อมูล กลยุทธ์ข้อมูล โนซีเควล และการจัดการข้อมูลใหญ่
    • บทส 6020 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
    • บทส 6030 การวางแผนยุทธศาสตร์ และการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

    วิชาหลักด้านการบริหาร

    • บทส 6040 การบัญชีเพื่อการบริหาร
    • บทส 6050 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และพฤติกรรมองค์การ
    • บทส 6060 การจัดการตลาด และการตลาดดิจิทัล

    หมวดวิชาเลือก

    • บทส 7000 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศและวิธีการแบบแอจไจล์
    • บทส 7001 การประมวลผลระดับองค์กร และเทคโนโลยีคลาวด์
    • บทส 7002 การจัดการการเงิน
    • บทส 7003 การบริหารการปฏิบัติการ
    • บทส 7004 เศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดการ
    • บทส 7005 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • บทส 7050 การวิเคราะห์เชิงประยุกต์ และระเบียบวิธีการวิจัย
    • บทส 7051 การเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้ของเครื่องในการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่
    • บทส 7052 การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
    • บทส 7053 บล็อกเชนและฟินเทค
    • บทส 7054 บริหารความเสี่ยงระดับองค์กร
    • บทส 7055 นวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี
    • บทส 7056 การจัดการยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
    • บทส 7057 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการภาครัฐ
    • บทส 7058 ระบบบัญชีบริหารและยุทธศาสตร์การบริหารต้นทุน
    • บทส 7059 ปัญญาธุรกิจ
    • บทส 7060 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    • บทส 7061 การจัดการโซ่อุปทาน
    • บทส 7062 การสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ
    • บทส 7063 การจัดการธุรกิจดิจิทัล และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    • บทส 7064 ระบบสนับสนุนผู้บริหารและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    • บทส 8000 สัมมนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • บทส 8801- 8809 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

    หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ

    • บทส 9000 การค้นคว้าอิสระ

    หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

    • บทส 9004 วิทยานิพนธ์

ดาวน์โหลดเอกสาร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ELO

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม LO1: มีทักษะในการสื่อสาร ภาวะความเป็นผู้นำ จริยธรรม ความเป็นผู้ประกอบการ และความสามารถในการแก้ไขปัญหา
2.ด้านความรู้

LO2: มีความสามารถในการวิจัย สามารถประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมเพื่อใช้แก้ปัญหาทางอุตสาหกรรมไอที และการบริหารจัดการไอทีในองค์กร

LO4: สามารถประยุกต์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างนวัตกรรมทางด้านไอทีกับการใช้งานจริงภายในองค์กร

3.ด้านทักษะทางปัญญา

LO3: เข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถก้าวทันเทคโนโลยีอุบัติใหม่ มีทัศนคติแรงจูงใจใฝ่รู้ในลักษณะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (self-directed learning)

LO5: สามารถวิเคราะห์และประเมินปัญหา และพัฒนาทางเลือกในที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาทางด้านไอทีภายในองค์กร

4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

LO1: มีทักษะในการสื่อสาร ภาวะความเป็นผู้นำ จริยธรรม ความเป็นผู้ประกอบการ และความสามารถในการแก้ไขปัญหา

 

5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

LO5: สามารถวิเคราะห์และประเมินปัญหา และพัฒนาทางเลือกในที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาทางด้านไอทีภายในองค์กร

LO6: สามารถออกแบบและพัฒนายุทธศาสตร์ไอทีและแผนกลวิธีที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ทั้งจากด้านไอทีและการจัดการธุรกิจ

thTH