Select Page

วท.ม. สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล (DADS)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ปรับปรุงมาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ได้ยากทั้งในทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภัยพิบัติ และ โรคภัยไข้เจ็บ ในยุคสมัยที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการเรียนรู้ เข้าใจ วิเคราะห์และจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ตามแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรในการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสถิติประยุกต์ด้วยพระองค์เอง ด้วยทรงมีพระวิสัยทัศน์อันก้าวไกลที่ว่าการพัฒนาประเทศต้องอาศัยข้อมูลและความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรให้กับประเทศชาติตามแนวพระราชดำริในการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

แนวอาชีพ

  • นักวิเคราะห์ธุรกิจ, เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์, นักวิเคราะห์กลยุทธ์, นักวางแผนธุรกิจ, นักพัฒนาธุรกิจ 
  • นักวิทยาการข้อมูล
  • นักสถิติ/นักวิชาการสถิติ
  • นักจัดการข้อมูลขนาดใหญ่/ และนักวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  • นักวิจัย นักวิจัยตลาด และนักวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  • วิศวกรข้อมูล
  • วิศวกรปัญญาประดิษฐ์
  • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์
  • ผู้ตรวจสอบ/ผู้ทดสอบระบบสารสนเทศ ผู้ตรวจสอบ/ผู้ทดสอบซอฟท์แวร์
  • อาจารย์/นักวิชาการ
  แผน ก2 ทำวิทยานิพนธ์ แผน ข ไม่ทำวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 15 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ สอบ สอบ
สอบปากเปล่า สอบ
วิทยานิพนธ์ (ผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต
(1)    หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หมายถึงวิชาที่มุ่งปรับความรู้ในระดับต่ำกว่าขั้นบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาเพื่อให้พร้อมที่จะศึกษาในชั้นปริญญาโท ประกอบด้วย

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(2–2-5)
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(2–2-5)
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3(2–2-5)
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(2–2-5)
ภส4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3(2–2-5)
วขวข 4001 พื้นฐานคณิตศาสตร์และสถิติ 3(3–0-6)
วขวข 4002 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นและการจัดการฐานข้อมูล 3(3–0-6)
วขวข 4003 ภาษาอังกฤษสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล 3(2–2-5)

หมายเหตุ      1. ข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน  ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ/สถาบัน  ยกเว้นข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษของคณะภาษาและการสื่อสาร ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

  1. 2. ในกรณีที่มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา การเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ด้วย

(2) หมวดพื้นฐาน หมายถึง กลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีพื้นฐานสำหรับการศึกษาวิชาหลัก และวิชาเลือก มีจำนวนรวม 6 หน่วยกิต

วขวข 5001 เครื่องมือและการเขียนโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล 3(3–0-6)
วขวข 5002 การจำลองตัวแบบทางธุรกิจและการคิดเชิงออกแบบ 3(3–0-6)

(3) หมวดวิชาหลัก หมายถึง กลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ประกอบด้วยวิชาต่อไปนี้ (กำหนดให้แผน ก2 และ แผน ข. เรียนวิชาในหมวดวิชาหลัก จำนวน 15  หน่วยกิต)

วขวข 6001 การวิเคราะห์สถิติสมัยใหม่ประยุกต์ 3(3–0-6)
วขวข 6002 การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ 3(3–0-6)
วขวข 6003 การประยุกต์การเรียนรู้ของเครื่อง 3(3–0-6)
วขวข 6004 การวิเคราะห์ทางการเงินและความเสี่ยง 3(3–0-6)
วขวข 6005 การวิเคราะห์ข้อมูล ณ ขณะปัจจุบันและกระแสต่อเนื่องของข้อมูล 3(3–0-6)

(4) หมวดวิชาเลือก ประกอบด้วยวิชาต่อไปนี้ โดยแผน ก2 กำหนดให้เลือกเรียนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต และแผน ข  กำหนดให้เลือกเรียนอย่างน้อย 12 หน่วยกิต นักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกได้ตามความสนใจของนักศึกษา ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา

วขวข 7101 การวิเคราะห์ลูกค้าและการตลาด 3(3–0-6)
วขวข 7102

วขวข 7103

วขวข 7104

การวิเคราะห์เชิงกำหนดและการหาค่าเหมาะสุดประยุกต์

การวิเคราะห์โซ่อุปทาน

กลยุทธ์การสื่อสารนำเสนอเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ

3(3–0-6)

3(3–0-6)

3(3–0-6)

วขวข 7201 การวิเคราะห์สื่อและเครือข่ายสังคม 3(3–0-6)
วขวข 7202 การเรียนรู้เชิงลึก 3(3–0-6)
วขวข 7203 การวิเคราะห์ข้อความและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3(3–0-6)
วขวข 7204 การเรียนรู้แบบเสริมกำลังและการเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง 3(3–0-6)
วขวข 7205 การออกแบบงานวิจัยและวิธีการหาความรู้ 3(3–0-6)
วขวข 7206 การวิเคราะห์วีดีทัศน์และรูป 3(3–0-6)

          (5) หมวดวิชาสัมมนาและการศึกษาเฉพาะเรื่อง

วขวข 8710-8720 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล 3(3–0-6)
วขวข 8721 สัมมนาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล 3(0–3-6)

หมายเหตุ – นอกเหนือจากกลุ่มวิชาเลือกดังกล่าวแล้ว นักศึกษาอาจเลือกเรียนวิชาเลือกเสรีจากหลักสูตรอื่น ๆ และ/หรือของสถาบันได้อีกตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  โดยการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด

              (6) หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ

วขวข 90000 การค้นคว้าอิสระ 3(0–0-12)

(7) หมวดวิทยานิพนธ์

วขวข 9004 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

 

ดาวน์โหลดเอกสาร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes (ELO) Levels of Educational Learning Outcomes in Bloom’s Taxonomy
ELO1 ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ ทำงานและตัดสินใจให้สอดคล้องกับประมวลพฤติกรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ remember
ELO 2 เข้าใจหลักการ ทฤษฎี ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต understand
ELO 3 ประยุกต์ใช้ความรู้สำหรับปัญหาในทางปฏิบัติ apply
ELO 4 แก้ปัญหาด้วยความคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ analyze and evaluate
ELO 5 นำเสนอและสื่อสารความรู้และข้อมูลให้กับผู้ฟังที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล create
ELO 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง apply

thTH