Select Page

ประวัติความเป็นมา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันของรัฐที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน

ประวัติความเป็นมาของ

คณะสถิติประยุกต์

(ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๑ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓)

          สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เกิดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ด้วยทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ และด้วยพระราชดำริดังกล่าวข้างต้น คณะสถิติประยุกต์จึงเป็นคณะหนึ่งในบรรดาสี่คณะเริ่มแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๙

ในช่วงแรก คณะสถิติประยุกต์รับโอนนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรของ “สถาบันสถิติศาสตร์ หลักสูตร ๓ ปีี” ตลอดจนงานอบรมสถิติศาสตร์ วิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชื่อหน่วยงานและสังกัด ณ เวลานั้น) มาดำเนินการ ต่อมาคณะปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวโดยขยายการเรียนการสอนเป็นหลักสูตร ๔ ปีี เรียกว่า “หลักสูตรประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรี” และเปิดรับนักศึกษาใหม่เพิ่มอีกสองรุ่น หลังจากนั้น (พ.ศ. ๒๕๑๒) ก็ปิดรับไปเนื่องจากสถาบันไม่มีนโยบายที่จะรับนักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาโทอีกต่อไป จึงยุติการสอนหลักสูตรนี้ไปเมื่อนักศึกษาคนสุดท้ายศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว

เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการตำแหน่งคณบดี คณะสถิติประยุกต์ พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตทางสถิติประยุกต์ โดยมี ม.จ.บุญโศลกเกษม เกษมศรี ทรงเป็นประธาน และมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์อีกหลายท่าน เช่น ดร.บุญธรรม สมบูรณ์สงค์ อาจารย์อุตตรา รัศมีเสน และ อาจารย์อนุมงคล ศิริเวทิน (ตำแหน่งในขณะนั้น) และเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทได้เป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๐ หลักสูตรระดับปริญญาโทหลักสูตรแรกของคณะสถิติประยุกต์เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตนักสถิติประยุกต์ที่มีคุณวุฒิและความสามารถทางวิชาการที่สามารถนำไปใช้การทำงานจริงเพื่อสนองความต้องการของหน่วยงานราชการตลอดจนหน่วยงานธุรกิจอื่น ๆ โดยในระยะ ๕ ปีีแรก การเรียนการสอนในคณะสถิติประยุกต์ยังไม่มีการแยกเป็นสาขาวิชาชัดเจน ในปีีแรกที่เข้ามาศึกษา นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนวิชาหลากหลายทั้งในและนอกคณะ เช่น นักศึกษาคณะสถิติประยุกต์นอกจากจะได้เรียนวิชาการวิเคราะห์เชิงสถิติ คอมพิวเตอร์ และการวิจัยดำเนินงาน (Operations Research) ซึ่งเป็นวิชาจากสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะแล้ว ยังต้องเรียนวิชาเกี่ยวกับการบริหารและเศรษฐศาสตร์ จากคณะอื่นด้วย ในทางกลับกัน นักศึกษาคณะอื่น ๆ ต้องเรียนวิชาสถิติ การวิจัยดำเนินงาน และอื่น ๆ ของคณะต่าง ๆ ด้วยเพื่อให้สมกับปริญญาที่ทุกคนได้รับ คือ พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พบ.ม.) ทางสถิติประยุกต์ หรือทางอื่น ๆ ขึ้นกับคณะหรือสาขาวิชาหลัก (Major) ที่เลือกศึกษา ในช่วงประมาณ ๑๐ – ๑๕ ปีีแรกของคณะสถิติประยุกต์ สาขาวิชาหลักของคณะมี ๔ สาขาวิชา (ชื่อที่เรียก ณ ขณะนั้น) ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ (Statistics) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer) สาขาวิชาการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) และสาขาวิชาประชากรศาสตร์ (Demography)

คณะสถิติประยุกต์มีการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการปรับปรุงหลักสูตรเก่าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรให้เหมาะสมกีบสถานการณ์ การสร้างหลักสูตรใหม่ให้ทันยุคและทันสมัย เช่น หลักสูตรพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (พบ.ด.) สาขาประชากรและการพัฒนา (เริ่มรับนักศึกษาในปีี พ.ศ. ๒๕๒๕) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสถิติ (เริ่มรับนักศึกษาในปีี พ.ศ. ๒๕๓๘) ทั้ง ๒ หลักสูตรเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอกแห่งแรกในประเทศไทยสำหรับแต่ละสาขาดังกล่าว ที่ผ่านมา ทุกหลักสูตรของคณะสถิติประยุกต์ล้วนเปิดกว้างสำหรับคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี/โทจากหลากหลายสาขาตามหลักการและปรัชญาที่สืบต่อกันมาตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเลือกเรียนรู้ในศาสตร์ที่สนใจได้เสมอ ทั้งนี้ขึ้นกับศักยภาพและความตั้งใจมุ่งมั่นของแต่ละคน

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่ทรงเห็นคุณค่าและประโยชน์ของศาสตร์สถิติประยุกต์ จนเป็นที่มาของคณะสถิติประยุกต์ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดังนั้น คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของคณะสถิติประยุกต์ทุกคนจึงน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๑ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ใส่เกล้าใส่กระหม่อม และใช้เป็นแนวทางอบรมสั่งสอนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาทุกคน ให้น้อมนำและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทดังกล่าว ดังต่อไปนี้

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช

ลำดับความก้าวหน้า

2509

รับโอนงานสอนและนักศึกษาของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ และการฝึกอบรมสถิติศาสตร์ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาดำเนินการ

2510

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสถิติประยุกต์เป็นครั้งแรก

2512

ยุติการรับเข้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรต่ำกว่าปริญญาโท (ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม)

2516

แยกการสอนสาขาวิชาเอกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาการวิจัยดำเนินงาน และสาขาประชากรศาสตร์

2525

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาประชากรและการพัฒนา

2533

เริ่มสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาคอมพิวเตอร์

2534

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาสถิติ

2536

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิทยาการประกันภัย และ สาขาระบบและการจัดการสารสนเทศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อสาขาเป็น การจัดการระบบสารสนเทศ)

2538

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาสถิติ

2539

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาประชากรและการพัฒนา และ สาขาวิทยาการประกันภัย

2541

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาการจัดการระบบสารสนเทศ

2542

เปลี่ยนชื่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกของคณะ จาก พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตและพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ

2545

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาระบบสารสนเทศประยุกต์

2546

  • ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา( สถิติประยุกต์ ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสถิติ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

  • เปลี่ยนชื่อสาขาการวิจัยดำเนินงาน เป็นสาขาเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ

2547

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ แบบเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นครั้งแรก ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา

2549

  • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโททุกหลักสูตรของคณะ และเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) ประกอบด้วย 7 สาขาวิชาเอก สาขาวิชาเอกสถิติ สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจ สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกการวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการ สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ และสาขาวิชาเอกการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเริ่มใช้ทำการสอนในภาค 1/2549

  • เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์-อาทิตย์) สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ ในภาค 2/2549

2550

เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารอื้อจือเหลียง ในโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด กับคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เริ่มเรียนภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2551

2551

ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก 2 หลักสูตร

  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)

  • สาขาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

    2552

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ (เพิ่มสาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศในหลักสูตร)

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท จากเดิมหลักสูตรสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแยกหลักสูตรออกเป็น 5 หลักสูตร (หลักสูตรสถิติประยุกต์ หลักสูตรสถิติ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง) และเพิ่มหลักสูตรใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

    2555

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 2 สาขา คือ 1) สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) สาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศ

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ และนำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มารวมอยู่ในหลักสูตรสถิติประยุกต์ โดยกำหนดสาขาวิชาเอกในหลักสูตร 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) การจัดการความเสี่ยงเชิงปริมาณ 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) การวิจัยดำเนินงาน และ 5) ประชากรและการพัฒนา

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดเป็น 4 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยนำหลักสูตรสถิติและหลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงมารวมในหลักสูตรสถิติประยุกต์ ปรับปรุง พ.ศ. 2555 และกำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ

      2) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ 5) ประชากรและการพัฒนา

    • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

      2556

      ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556

      2558

      ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558

      2559

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยกำหนดเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการข้อมูล

        2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) วิทยาการสื่อปฏิสัมพันธ์ 4) ความมั่นคงสารสนเทศ

        5) สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ และ 6) วิทยาการคอมพิวเตอร์

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 กำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ

        3) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ

        5) วิธีวิจัยและประเมินนโยบายเพื่อการพัฒนา

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

        2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

        2561

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์

      2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      2561

      • ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

      • พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์

      2562

      ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร กำหนดสาขาวิชาเอก 7 สาขา คือ
      1) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล 3) สุขภาพและชีวสารสนิเทศศาสตร์
      4) วิศวกรรมข้อมูล 5) การวิเคราะห์นโยบายและการพัฒนา 6) ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร และ 7) ภาพนิทัศน์ข้อมูลและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
      ที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

      ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

      thTH