วท.ม. สาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์ (CYBERSECURITY)

  • ภาพรวมหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • รายละเอียดวิชา
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
  • เล่มหลักสูตร
  • Facebook

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์

(Master of Science Program in Cybersecurity Risk Management)

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทำให้บุคคลสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นหรือแม้กระทั่งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้เทคโนโลยี และในปี 2563 ประเทศไทยจะมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นบุคลากรทางเทคโนโลยีจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมายเหล่านี้ในการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อสารสนเทศขององค์กร รวมทั้งลดความเสี่ยงในการละเมิดกฎหมาย

ทั้งนี้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์) เป็นการหลอมรวมสาขาวิชาความมั่นคงสารสนเทศ การจัดการความเสี่ยงทางเทคโนโลยีในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชากฎหมายในหลักสูตรนิติศาสตร์เข้าไว้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสร้างหลักสูตรใหม่ให้ทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการหลอมรวมทรัพยากรและบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานข้ามสาขาวิชาและบูรณาการให้เกิดความรู้ใหม่

หลักสูตรนี้จึงต้องการสร้างมหาบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดยมีความรู้ความสามารถในด้านความมั่นคงสารสนเทศ การจัดการความเสี่ยงทางสารสนเทศ และกฎหมาย มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ (Inquiry Skills) ด้วยตนเอง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังขาดแคลนอย่างมากในโลกปัจจุบัน

แนวอาชีพ

  • ผู้บริหารสูงสุดด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ( Chief Information Security Officer: CISO)
  • ผู้บริหารสูงสุดด้านความมั่นคงปลอดภัย (Chief Security Officer: CSO)
  • สถาปนิกความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security Architect)
  • ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติการไซเบอร์ (Cyber Operations Specialist)
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
  • เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)

 

แผน ก2 ทำวิทยานิพนธ์

แผน ข ไม่ทำวิทยานิพนธ์

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

ไม่นับหน่วยกิต

ไม่นับหน่วยกิต

หมวดวิชาหลัก

9 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก

15 หน่วยกิต

24 หน่วยกิต

วิชาการค้นคว้าอิสระ

-

3 หน่วยกิต

สอบประมวลความรู้

สอบ

สอบ

สอบปากเปล่า

-

สอบ

วิทยานิพนธ์ (ผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์)

12 หน่วยกิต

-

รวมไม่น้อยกว่า

36 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

รายวิชา

       (1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หมายถึงวิชาที่มุ่งปรับความรู้ในระดับต่ำกว่าขั้นบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาเพื่อให้พร้อมที่จะศึกษาในชั้นปริญญาโท ประกอบด้วย

สพ 4000 ND 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

Foundation for Graduate Studies

3(2 – 2 -5)

ภส 4001 LC 4001

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

Reading Skills Development in English for Graduate Studies

3(2 – 2 -5)

ภส 4002 LC 4002

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

Integrated English Language Skills Development

3(2 – 2 -5)

ภส 4011 LC 4011

การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

3(2 – 2 -5)

ภส 4012 LC 4012

การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

Remedial Integrated English Language Skills Development

3(2 – 2 -5)

 

 

สมซ 4001

CRM 4001

ระบบกฎหมายและนิติวิธี

Legal System and Juristic Method

3(3 - 0 - 6)

สมซ 4002

CRM 4002

การปฏิบัติการความมั่นคงไซเบอร์

Cybersecurity Operations

3(3 - 0 - 6)

หมายเหตุ      1. ข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน  ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ/สถาบัน  ยกเว้นข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษของคณะภาษาและการสื่อสาร ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

  1. 2. ในกรณีที่มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา การเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ด้วย

              (2) หมวดวิชาหลัก หมายถึงกลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านประกอบด้วยวิชาต่อไปนี้ (กำหนดให้แผน ก 2 และ แผน ข. เรียนวิชาในหมวดวิชาหลัก จำนวน 9 หน่วยกิต)

สมซ 6001 CRM 6001   

การบริหารความมั่นคงของสารสนเทศ      

Information Security Management    

3(3–0–6)

สมซ 6002 CRM 6002   

การวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับความมั่นคงของสารสนเทศ    

Information Security Risk Analysis     

3(3–0–6)

สมซ 6003 CRM 6003   

กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงไซเบอร์        

Cybersecurity Law     

3(3–0–6)

(3) หมวดวิชาเลือก

สมซ 7001

CRM 7001   

ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

Computer and Network Security

3(3–0–6)

สมซ 7002 CRM 7002   

ความมั่นคงของคลาวด์คอมพิวติ้ง

Cloud Computing Security

3(3–0–6)

สมซ 7004 CRM 7004

การทดสอบการเจาะโจมตีและการวิเคราะห์หาจุดอ่อน

Penetration Testing and Vulnerability Analysis

3(3–0–6)

สมซ 7005

CRM 7005   

นิติดิจิทัลและการสืบสวน

Digital Forensics and Investigations

3(3–0–6)

สมซ 7006

CRM 7006   

นโยบายความมั่นคงของสารสนเทศ

Information Security Policy

3(3–0–6)

สมซ 7007

CRM 7007

การกำกับดูแลระบบสารสนเทศ

Information Systems Governance

3(3–0–6)

สมซ 7008 CRM 7008

กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

Cybercrime Law

3(3–0–6)

สมซ 7009

CRM 7009

กฎหมายเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Electronic Commerce Law

3(3–0–6)

สมซ 7010

CRM 7010

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว

Data Protection and Privacy Law

3(3–0–6)

สมซ 7011

CRM 7011

การจัดการความเสี่ยงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงของสารสนเทศ

Information Security and IT Risk Management

3(3–0–6)

สมซ 7012

CRM 7012

การตรวจสอบความมั่นคงของสารสนเทศ                    

Information Security Auditing

3(3–0–6)

                 (5) หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ

สมซ 9000

CRM 9000

การค้นคว้าอิสระ

Independent Study

3(0 – 0 -12)

 

              (6) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

สมซ 9004  

CRM 9004 

วิทยานิพนธ์

Thesis

12 หน่วยกิต

 


รายละเอียดการรับสมัคร

สมัครเรียนออนไลน์