ประวัติความเป็นมา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันของรัฐที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน

ประวัติความเป็นมาของคณะสถิติประยุกต์

1
(ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๑ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓)

          สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เกิดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ด้วยทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ และด้วยพระราชดำริดังกล่าวข้างต้น คณะสถิติประยุกต์จึงเป็นคณะหนึ่งในบรรดาสี่คณะเริ่มแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๙

          ในช่วงแรก คณะสถิติประยุกต์รับโอนนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรของ “สถาบันสถิติศาสตร์ หลักสูตร ๓ ปีี” ตลอดจนงานอบรมสถิติศาสตร์ วิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชื่อหน่วยงานและสังกัด ณ เวลานั้น) มาดำเนินการ ต่อมาคณะปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวโดยขยายการเรียนการสอนเป็นหลักสูตร ๔ ปีี เรียกว่า “หลักสูตรประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรี” และเปิดรับนักศึกษาใหม่เพิ่มอีกสองรุ่น หลังจากนั้น (พ.ศ. ๒๕๑๒) ก็ปิดรับไปเนื่องจากสถาบันไม่มีนโยบายที่จะรับนักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาโทอีกต่อไป จึงยุติการสอนหลักสูตรนี้ไปเมื่อนักศึกษาคนสุดท้ายศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว

          เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการตำแหน่งคณบดี คณะสถิติประยุกต์ พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตทางสถิติประยุกต์ โดยมี ม.จ.บุญโศลกเกษม เกษมศรี ทรงเป็นประธาน และมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์อีกหลายท่าน เช่น ดร.บุญธรรม สมบูรณ์สงค์ อาจารย์อุตตรา รัศมีเสน และ อาจารย์อนุมงคล ศิริเวทิน (ตำแหน่งในขณะนั้น) และเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทได้เป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๐ หลักสูตรระดับปริญญาโทหลักสูตรแรกของคณะสถิติประยุกต์เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตนักสถิติประยุกต์ที่มีคุณวุฒิและความสามารถทางวิชาการที่สามารถนำไปใช้การทำงานจริงเพื่อสนองความต้องการของหน่วยงานราชการตลอดจนหน่วยงานธุรกิจอื่น ๆ โดยในระยะ ๕ ปีีแรก การเรียนการสอนในคณะสถิติประยุกต์ยังไม่มีการแยกเป็นสาขาวิชาชัดเจน ในปีีแรกที่เข้ามาศึกษา นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนวิชาหลากหลายทั้งในและนอกคณะ เช่น นักศึกษาคณะสถิติประยุกต์นอกจากจะได้เรียนวิชาการวิเคราะห์เชิงสถิติ คอมพิวเตอร์ และการวิจัยดำเนินงาน (Operations Research) ซึ่งเป็นวิชาจากสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะแล้ว ยังต้องเรียนวิชาเกี่ยวกับการบริหารและเศรษฐศาสตร์ จากคณะอื่นด้วย ในทางกลับกัน นักศึกษาคณะอื่น ๆ ต้องเรียนวิชาสถิติ การวิจัยดำเนินงาน และอื่น ๆ ของคณะต่าง ๆ ด้วยเพื่อให้สมกับปริญญาที่ทุกคนได้รับ คือ พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พบ.ม.) ทางสถิติประยุกต์ หรือทางอื่น ๆ ขึ้นกับคณะหรือสาขาวิชาหลัก (Major) ที่เลือกศึกษา ในช่วงประมาณ ๑๐ – ๑๕ ปีีแรกของคณะสถิติประยุกต์ สาขาวิชาหลักของคณะมี ๔ สาขาวิชา (ชื่อที่เรียก ณ ขณะนั้น) ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ (Statistics) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer) สาขาวิชาการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) และสาขาวิชาประชากรศาสตร์ (Demography)

         คณะสถิติประยุกต์มีการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการปรับปรุงหลักสูตรเก่าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรให้เหมาะสมกีบสถานการณ์ การสร้างหลักสูตรใหม่ให้ทันยุคและทันสมัย เช่น หลักสูตรพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (พบ.ด.) สาขาประชากรและการพัฒนา (เริ่มรับนักศึกษาในปีี พ.ศ. ๒๕๒๕) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสถิติ (เริ่มรับนักศึกษาในปีี พ.ศ. ๒๕๓๘) ทั้ง ๒ หลักสูตรเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอกแห่งแรกในประเทศไทยสำหรับแต่ละสาขาดังกล่าว ที่ผ่านมา ทุกหลักสูตรของคณะสถิติประยุกต์ล้วนเปิดกว้างสำหรับคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี/โทจากหลากหลายสาขาตามหลักการและปรัชญาที่สืบต่อกันมาตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเลือกเรียนรู้ในศาสตร์ที่สนใจได้เสมอ ทั้งนี้ขึ้นกับศักยภาพและความตั้งใจมุ่งมั่นของแต่ละคน

          ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่ทรงเห็นคุณค่าและประโยชน์ของศาสตร์สถิติประยุกต์ จนเป็นที่มาของคณะสถิติประยุกต์ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดังนั้น คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของคณะสถิติประยุกต์ทุกคนจึงน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๑ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ใส่เกล้าใส่กระหม่อม และใช้เป็นแนวทางอบรมสั่งสอนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาทุกคน ให้น้อมนำและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทดังกล่าว ดังต่อไปนี้   

2

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช

ลำดับความก้าวหน้า

  • 2509

    รับโอนงานสอนและนักศึกษาของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ และการฝึกอบรมสถิติศาสตร์ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาดำเนินการ

  • 2510

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสถิติประยุกต์เป็นครั้งแรก

  • 2512

    ยุติการรับเข้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรต่ำกว่าปริญญาโท (ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม)

  • 2516

    แยกการสอนสาขาวิชาเอกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาการวิจัยดำเนินงาน และสาขาประชากรศาสตร์

  • 2525

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาประชากรและการพัฒนา

  • 2533

    เริ่มสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาคอมพิวเตอร์

  • 2534

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาสถิติ

  • 2536

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิทยาการประกันภัย และ สาขาระบบและการจัดการสารสนเทศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อสาขาเป็น การจัดการระบบสารสนเทศ)

  • 2538

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาสถิติ

  • 2539

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาประชากรและการพัฒนา และ สาขาวิทยาการประกันภัย

  • 2541

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาการจัดการระบบสารสนเทศ

  • 2542

    เปลี่ยนชื่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกของคณะ จาก พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตและพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ

  • 2545

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาระบบสารสนเทศประยุกต์

  • 2546

    – ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา( สถิติประยุกต์ ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสถิติ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    – เปลี่ยนชื่อสาขาการวิจัยดำเนินงาน เป็นสาขาเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ

  • 2547

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ แบบเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นครั้งแรก ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา

  • 2549

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโททุกหลักสูตรของคณะ และเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) ประกอบด้วย 7 สาขาวิชาเอก สาขาวิชาเอกสถิติ สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจ สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกการวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการ สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ และสาขาวิชาเอกการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเริ่มใช้ทำการสอนในภาค 1/2549
    – เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์-อาทิตย์) สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ ในภาค 2/2549

  • 2550

    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารอื้อจือเหลียง ในโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด กับคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เริ่มเรียนภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2551

  • 2551

    ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก 2 หลักสูตร
    – สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
    – สาขาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

  • 2552

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ (เพิ่มสาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศในหลักสูตร)
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท จากเดิมหลักสูตรสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแยกหลักสูตรออกเป็น 5 หลักสูตร (หลักสูตรสถิติประยุกต์ หลักสูตรสถิติ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง) และเพิ่มหลักสูตรใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

  • 2555

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 2 สาขา คือ 1) สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) สาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศ
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ และนำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มารวมอยู่ในหลักสูตรสถิติประยุกต์ โดยกำหนดสาขาวิชาเอกในหลักสูตร 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) การจัดการความเสี่ยงเชิงปริมาณ 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) การวิจัยดำเนินงาน และ 5) ประชากรและการพัฒนา
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดเป็น 4 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยนำหลักสูตรสถิติและหลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงมารวมในหลักสูตรสถิติประยุกต์ ปรับปรุง พ.ศ. 2555 และกำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ 5) ประชากรและการพัฒนา
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

  • 2556

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556

  • 2558

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558

  • 2559

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยกำหนดเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการข้อมูล 2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) วิทยาการสื่อปฏิสัมพันธ์ 4) ความมั่นคงสารสนเทศ 5) สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ และ 6) วิทยาการคอมพิวเตอร์
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 กำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ 3) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ 5) วิธีวิจัยและประเมินนโยบายเพื่อการพัฒนา
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 2560
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 2561
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์

  • 2560

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

  • 2561

    – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
    – พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์

  • 2562

    – ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร กำหนดสาขาวิชาเอก 7 สาขา คือ 1) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล 3) สุขภาพและชีวสารสนิเทศศาสตร์ 4) วิศวกรรมข้อมูล 5) การวิเคราะห์นโยบายและการพัฒนา 6) ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร และ 7) ภาพนิทัศน์ข้อมูลและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คำที่เกี่ยวข้อง
thThai