วิสัยทัศน์
คณะสถิติประยุกต์มีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน ดังนี้
เป็นหน่วยงานชั้นนำของประเทศซึ่งมีคุณภาพระดับสากลที่ผลิตองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรทางด้านสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
พันธกิจ
คณะสถิติประยุกต์มีพันธกิจหลัก ดังนี้
- ผลิตดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ความรู้ทางด้านสถิติประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์กรและประเทศ
- ผลิตผลงานวิจัยและให้บริการวิชาการที่มีคุณภาพ
นโยบาย
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานของคณะสถิติประยุกต์
- ผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม
- ผลิตงานวิจัยทั้งวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ให้การอบรม และบริการวิชาการแก่สังคมในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ หรือกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสตร์ด้านนี้
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELO : Expected Learning Outcome)
- มีความสารมารถในการคิดวิเคราะห์และประเมินทางเลือกบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ [analyze, evaluate]
- มีความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านสถิติ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม[apply]
- มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- มีความสามารถในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงาน
ค่านิยมหลัก สมรรถนะหลัก
E-WISDOM (WISDOM + Engagement)
AS Core Competencies
- Interdisciplinary expertise in Applied Statistics, Information Technology and Data Science
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน
สพบ.ในอดีต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ขึ้นต่อ มา รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดตั้งสถาบันสอนวิชาการบริหารเกี่ยว กับการพัฒนาประเทศ โดยได้นำโครงการ GIDA ของด็อกเตอร์ สเตซี เมย์ มาศึกษา และได้เสนอมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีว่าควรจะตั้ง สถาบันพัฒนาการบริหาร (Institute of Development Administration) โดยดำเนินการสอนในขั้นปริญญาโทและเอก การศึกษาฝึกอบรม และการวิจัย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
คณะสถิติประยุกต์ ได้ เริ่มดำเนินการสอนและฝึกอบรมวิชาการทางด้านสถิติประยุกต์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2509 โดยรับโอนงานสอน ตลอดจนนักศึกษาของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ และงานอบรมสถิติศาสตร์ ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ มา ดำเนินการ นักศึกษาของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ ที่ได้รับโอนมานั้น เป็นนักศึกษาระดับต่ำกว่าขั้นปริญญาตรี คือ ใช้หลักสูตร 3 ปี ของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ ในขณะนั้น คณะได้มองเห็นความจำเป็นของการผลิตนักสถิติที่มีคุณวุฒิ และความสามารถทางวิชาการในระดับ เทียบเท่าปริญญาตรี เพื่อสนองความต้องการ ของหน่วยงานราชการ ตลอดจนหน่วยงานธุรกิจอื่น ๆ จึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่เดิม และได้ขยายหลักสูตรเป็น 4 ปี เทียบเท่าปริญญาตรี ขณะเดียวกันก็ได้เตรียมการ เปิดสอน หลักสูตรปริญญาโท สาขาสถิติประยุกต์ พร้อมกันไปด้วย โดยมีคณะอนุกรรมการ ประกอบด้วย ม.จ.บุญโศลกเกษม เกษมศรี ทรงเป็นประธาน และคณาจารย์นักศึกษารุ่นสุดท้ายศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสถาบัน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคลากรขององค์การต่าง ๆ ที่ผ่าน การศึกษาระดับปริญญาตรีมาแล้ว ให้มีความรู้ทางวิชาการสูงขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ การยุติการสอน ในระดับต่ำกว่าปริญญาโท ทำให้คณะสามารถทุ่มเททรัพยากรที่มีให้แก่การเรียนการสอนในระดับปริญญาโทได้ อย่างเต็มที่
ในระยะ 5 ปีแรก ยัง ไม่มีการแยกอีกหลายท่าน เช่น ดร.บุญธรรม สมบูรณ์สงค์ อาจารย์ อุตตรา รัศมีเสน และ อาจารย์ อนุมงคล ศิริเวทิน (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้ร่างหลักสูตร ทั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท รักษาการในตำแหน่งคณบดี และสามารถ เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทได้เป็น ครั้งแรก ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2510
ในปี พ.ศ.2512 สถาบันไม่มีนโยบาย ที่จะรับนักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาโทอีกต่อไป จึงจะยุติการสอนในหลักสูตร 4 ปี (ประกาศนียบัตร เทียบเท่าปริญญาตรี) ต่อมาได้แยกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาการวิจัยดำเนินงาน และสาขาประชากรศาสตร์ แล้วขยายเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาวิทยาการประกันภัย และสาขาระบบและการจัดการสารสนเทศ อีกทั้งได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรต่างๆให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 คณะได้เปิดทำการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพิ่มอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรระบบสารสนเทศประยุกต์ M.S.(Applied Information System) และหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ Ph.D.(Computer Science) เพื่อขยายโอกาสให้กับผู้สนใจศึกษาทางด้านเทศโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในระบบงานในองค์การแทบทั้งสิ้น และรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายการพัฒนาประเทศด้วย ในปี พ.ศ. 2546 คณะได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเก่าของคณะทั้งหมด โดยเน้นให้เป็นหลักสูตรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการบริหารใน สาขาต่างๆ รวมทั้งได้เปลี่ยนชื่อสาขาการวิจัยดำเนินงาน เป็น “สาขาเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ”
ปี พ.ศ. |
ลำดับความก้าวหน้า |
2509 | รับโอนงานสอนและนักศึกษาของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ รวมทั้งการฝึกอบรมสถิติศาสตร์ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาดำเนินการ |
2510 | เปิดสอนระดับปริญญาโททางสถิติประยุกต์เป็นครั้งแรก |
2512 | ยุติการรับเข้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรต่ำกว่าปริญญาโท (ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม) |
2516 | แยกการสอนสาขาวิชาเอกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาการวิจัยดำเนินงาน และสาขาประชากรศาสตร์ |
2525 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาประชากรและการพัฒนา |
2533 | เริ่มเปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาคอมพิวเตอร์ |
2534 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาสถิติ |
2536 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิทยาการประกันภัย และ สาขาระบบและการจัดการสารสนเทศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อสาขาเป็น การจัดการระบบสารสนเทศ) |
2538 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาสถิติ |
2539 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาประชากรและการพัฒนา และ สาขาวิทยาการประกันภัย |
2541 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาการจัดการระบบสารสนเทศ |
2542 | เปลี่ยนชื่อหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอกของคณะ จาก พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิตเป็น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ |
2545 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาระบบสารสนเทศประยุกต์ |
2546 | – ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ( สถิติประยุกต์ ) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสถิติ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ – เปลี่ยนชื่อสาขาการวิจัยดำเนินงาน เป็นสาขาเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ |
2547 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโทภาคปกติ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์-อาทิตย์) ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา |
2549 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโททุกหลักสูตรของคณะ และเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) ประกอบด้วย 7 สาขาวิชาเอก สาขาวิชาเอกสถิติ สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจ สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกการวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการ สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ และสาขาวิชาเอกการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเริ่มใช้ทำการสอนในภาค 1/2549
– เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์-อาทิตย์) สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ ในภาค 2/2549 |
2550 | เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารอื้อจือเหลียง ในโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด กับคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เริ่มเรียนภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2551 |
2551 | ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก 2 หลักสูตร – สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) – สาขาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) |
2552 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ (เพิ่มสาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศในหลักสูตร) – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท จากเดิมหลักสูตรสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแยกหลักสูตรออกเป็น 5 หลักสูตร (หลักสูตรสถิติประยุกต์ หลักสูตรสถิติ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง) และเพิ่มหลักสูตรใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ |
2555 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 2 สาขา คือ 1) สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) สาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศ ) – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ และนำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มารวมอยู่ในหลักสูตรสถิติประยุกต์ โดยกำหนดสาขาวิชาเอกในหลักสูตร 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) การจัดการความเสี่ยงเชิงปริมาณ 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) การวิจัยดำเนินงาน และ 5) ประชากรและการพัฒนา – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยกำหนดเป็น 4 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยนำหลักสูตรสถิติและหลักสูตรวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงมารวมในหลักสูตรสถิติประยุกต์ ปรับปรุง พ.ศ. 2555 และกำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 3) การวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ 5) ประชากรและการพัฒนา – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 |
2556 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 |
2558 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 |
2559 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยกำหนดเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) วิทยาการข้อมูล 2) การจัดการระบบสารสนเทศ 3) วิทยาการสื่อปฏิสัมพันธ์ 4) ความมั่นคงสารสนเทศ 5) สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ และ 6) วิทยาการคอมพิวเตอร์ – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 กำหนดสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชาเอก คือ 1) สถิติ 2) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ 3) วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง 4) เทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ และ 5) วิธีวิจัยและประเมินนโยบายเพื่อการพัฒนา – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 2560 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 2561 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์ |
2560 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 |
2561 | – ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 – พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำสาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจจากหลักสูตรสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาเอกวิทยาการข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดสาขาวิชาเอก 3 สาขา คือ 1) การวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล และ 3) สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์ |
2562 | – ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร กำหนดสาขาวิชาเอก 7 สาขา คือ 1) ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ 2) วิทยาการข้อมูล 3) สุขภาพและชีวสารสนิเทศศาสตร์ 4) วิศวกรรมข้อมูล 5) การวิเคราะห์นโยบายและการพัฒนา 6) ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร และ 7) ภาพนิทัศน์ข้อมูลและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถิติประยุกต์ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม หลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ตรงตามความต้องการของสังคม และนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารการพัฒนา เพิ่มศักยภาพให้องค์การอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับองค์การทั้งใน และต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความ รู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด